การเลี้ยงปลาช่อนนั้นเกษตรกรควรเลี้ยงสลับกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลานิล สลับกันไปมาเพื่อเป็นการตัดวงจรการเกิดโรคปลาช่อน ข้อดีเลี้ยงปลาในกระชัง หลายคนอาจสงสัย เลี้ยงในบ่อดิน ทำไมต้องมาเสียเงินทำกระชัง ข้อดีคือ เลี้ยงในกระชังถึงเวลาจับขายทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลืองค่าแรง ค่าน้ำมันสูบน้ำจับปลา ข้อดีอีกอย่าง เลี้ยงในกระชัง ปลาอยู่ในวงจำกัด การใช้อาหาร วิตามินเสริม ปลาได้กินทั่วถึง ไม่ต้องเหวี่ยงกระจายไปทั่วบ่อ…อัตราสูญเปล่าแทบไม่มี และในบ่อเราสามารถเลี้ยงปลาอื่นๆร่วมด้วยเช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอ เลี้ยงหอย เลี้ยงกุ้ง
การเตรียมบ่อ
- บ่อใหม่ หมายถึง บ่อดินที่ชุดใหม่จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคปลา แต่การคำนึงความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแต่ละพื้นที่ของดิน ดังนั้นบ่อใหม่ควรพิจารณากระทำสิ่งต่อไปนี้
1.1 ต้องมีการวัด pH และปรับ pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5 ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ 100 – 150 กก./ไร่
1.2 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอัตราที่ควรใส่ คือ 200 – 250 กก./ไร่ หรือมากกว่านั้น
1.3 สูบน้ำใส่บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา หรืออาจนำพันธุ์ไรแดงมาปล่อยเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ
1.4 การปล่อยลูกปลาควรปล่อยในตอนเช้า เพราะอากาศและน้ำมีอุณหภูมิต่ำทำให้ปลาไม่ช๊อคในขณะปล่อยควรจะนำถุงบรรจุปลาแช่น้ำทิ้งไว้ 10 – 20 นาที หรือค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปในถุงเพื่อให้อุณหภูมิใกล้เคียงกันแล้วจงเทลูกปลาลงบ่อ - บ่อเก่า เป็นบ่อซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้วก่อนปล่อยลูกปลาลงย่อ ควรปฏิบัติดังนี้ ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด
2.2 ลอกเลนพร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพราะเป็นที่อยู่ของศัตรูปลาเลนจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์วัตถุและโรคปลา และตกแต่งบริเวณคันบ่อที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์
2.3 ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป
2.4 ใช้ปูนขาวอัตราส่วน 50 – 100 กิโลกรัม / ไร่ หรือมากกว่า ถ้าดินเป็นกรด ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ
2.5 ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100 – 200 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับบ่อปลา
2.6 สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้ 10 – 15 วัน อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ
2.7 บ่อเก่าถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูพืชปลาด้วยโล่ติ้น หรือกากชา อัตรา 5 – 10 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ศัตรูปลาตาย ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน พิษของสารพิษจะสลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ
2.8 ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ่อเก่าหลังการจับปลาและฆ่าศัตรูปลาแล้วแต่ไม่ได้ระบายน้ำทิ้งเพราะขาดน้ำใหม่ควรใช้ปูนขาวในอัตรา 250 – 300 กิโลกรัม / ไร่
การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธี คือ
- การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
- การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
การเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ LHRHa หรือ LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8–10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
การฟักไข่
ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด – ด่าง 7.8 ความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้าน
การอนุบาลลูกปลาช่อน
ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ
ขั้นตอนการเลี้ยง
การนำลูกปลาลงปล่อยในบ่อ เราต้องนำถุงบรรจุลูกปลามาแช่น้ำในบ่อที่เราจะปล่อยประมาณ 30 นาทีก่อน เพื่อให้ลูกปลาปรับสภาพเสียก่อน ซึ่งมีหลายคนปล่อยปลาลงเลย ทำให้ปลาน็อคน้ำและตายในเวลาต่อมา หลังจากแช่ไว้ประมาณ 30 นาที ก็สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อได้เลย
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด
- อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 30 – 35 ตัว / กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร / น้ำ 100 ตัน) ในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
- การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
- การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก
- ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง 2 เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม
- การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน
- การป้องกันโรค โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที
สูตรอาหารปลาช่อนทำเอง
ส่วนผสม
- ปลาป่นหรือหอยเชอรี่ 5 กก.
- ปลายข้าวต้มสุก 1 กก.
- ข้าวโพดป่น 1 กก.
- พืชสีเขียว เช่น ผักบุ้ง กระถิน ฯลฯ 1 กก.
- รำละเอียด 2 กก.
- เกลือ 2 ขีด
- และเสริมด้วยผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำว้า/ฟักทอง/มะละกอ (อะไรก็ได้) 1 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 5 ช้อนโต๊ะ
- จุลินทรีย์ EM หรือน้ำจุลินทรีย์ 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
นำหอยเชอรี่มาบดทั้งเปลือก/ปลาป่น ข้าวโพดป่น จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาใส่ในกะละมัง ตามอัตราส่วนกำหนดข้างต้น โดยการผสมวัตถุดิบนั้นให้เอาส่วนที่เป็นน้ำผสมกันก่อนแยกต่างหาก (EM+กากน้ำตาล+น้ำเล็กน้อย) จากนั้นค่อยนำมาเทใส่รวมกับส่วนผสมอื่นๆ ผสมให้เข้ากัน หากต้องการทำให้เป็นเม็ดก็นำเข้าเครื่องอัดเม็ด โดยขนาดนั้นสามารถเลือกได้ตามต้องการ (ตามขนาดปลา)หรือจะปั้นเป็นก้อนก็ได้ จากนั้น นำไปผึ่งลมให้แห้งเสร็จแล้วนำไปหว่านให้ปลากิน วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น
ผลผลิต
ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว / กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5 เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่
Fatal error: Uncaught Error: Call to undefined function ereg() in /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-content/themes/DDtemplate/functions.php:247 Stack trace: #0 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-content/themes/DDtemplate/functions.php(218): commenter_link() #1 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-includes/class-walker-comment.php(179): colabs_list_comments(Object(WP_Comment), Array, 1) #2 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-includes/class-wp-walker.php(144): Walker_Comment->start_el('', Object(WP_Comment), 1, Array) #3 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-includes/class-walker-comment.php(139): Walker->display_element(Object(WP_Comment), Array, 2, 0, Array, '') #4 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-includes/class-wp-walker.php(387): Walker_Comment->display_element(Object(WP_Comment), Array, 2, 0, Array, '') #5 /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-includes/comment-template.php(2182): Walker->paged_walk(Ar in /home/farmth/domains/farmlandthai.com/public_html/wp-content/themes/DDtemplate/functions.php on line 247